การตอบสนองและมาตรการป้องกัน ของ การโจมตีโตเกียว เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564

ประตูรถไฟฟ้าเปิดไม่ได้

ตามคำแถลงของบริษัทเคโอ ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายเคโอ[9] ได้เปิดเผยว่ามีผู้โดยสารได้กดปุ่มเปิดประตูฉุกเฉิน ซึ่งทำให้ความเร็วของรถไฟฟ้าค่อย ๆ ชลอลงโดยอัตโนมัติจนหยุดนิ่งอยู่กับที่ ด้วยเหตุนี้ จุดที่รถไฟฟ้าควรจะหยุดและชานชาลาจึงไม่ขนานกัน ทำให้พนักงานขับรถไฟฟ้าตัดสินใจเลือกที่จะไม่เปิดประตูเนื่องจากจะทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถลงจากรถไฟฟ้าอย่างปลอดภัยได้ นอกจากนี้ยังไม่มีกล้องวงจรปิดบนรถไฟฟ้า ทำให้พนักงานขับรถไฟฟ้าไม่เห็นถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นบนตู้รถไฟฟ้า[10][11]

การซักซ้อมเผชิญเหตุ

ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลชินจูกุได้จัดการฝึกทบทวนยุทธวิธีในการเข้าควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นที่สถานีรถไฟชินจูกุ[12] ถัดมาในวันที่ 16 พฤศจิกายน ได้มีการซ้อมเผชิญเหตุในลักษณะเดียวกันโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอิมาริ สำหรับงานเทศกาลเซรามิกฤดูใบไม้ผลิในเมืองอาริตะ และบนชานชาลาของสถานีโทบาตะ ในเขตโทบาตะของเมืองคิตะกีวชู จังหวัดฟูกูโอกะ[13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การโจมตีโตเกียว เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E... https://www.keio.co.jp/english/corporate/profile.h... https://news.yahoo.co.jp/articles/9edef30b6b818bc3... https://news.yahoo.co.jp/articles/a9562b10535f2aea... https://www.fdma.go.jp/disaster/info/items/2021103... https://www.nhk.or.jp/kaisetsu-blog/100/457239.htm... https://www.nhk.or.jp/shutoken/newsup/20211101a.ht... https://www3.nhk.or.jp/lnews/kitakyushu/20211116/5... https://www3.nhk.or.jp/lnews/nara/20211117/2050008... https://www3.nhk.or.jp/news/html/20211101/k1001332...